โครงการ สายบุญผู้ออกแบบ : นายธนัช ขุนทองสายบุญ สถาปัตยกรรมที่แฝงปริศนาธรรมปัจจุบันเมืองที่หลายคนเติบโตหรือเข้ามาใช้ชีวิตมีแต่ความเร่งรีบจนเราหลงลืมหลายสิ่ง ลืมสนใจหลายๆอย่างที่อยู่รอบตัว จนเกิดวลีที่ว่า “ไม่มีเวลา” ทั้งที่เวลาก็คือเส้นที่เราใช้อยู่ทุกวัน แต่เราเองไม่ได้สนใจที่จะใช้เวลากับบางอย่างที่เคยใช้ อาทิเช่น ศาสนา ที่นับวันยิ่งดูออกห่างจากคนรุ่นใหม่มาก จนห่างหายจากศาสนาที่เป็นรากเง้าของสังคมคอยขัดเกลาสังคมไทยและคนไทยตั้งแต่อดีตโดยผลงานออกแบบได้นำแนวคิดที่ว่า “ การเชื่อมโยงคน ศาสนา ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของเมือง เข้าด้วยกันผ่าน สถาปัตยกรรม ” ซึ่งสถาปัตยกรรมจะแฝงคติทางพระพุทธศาสนาและหลักธรรมอย่าง พรหมวิหาร4 ซึ่งเป็นหลักธรรมพื้นฐานของการอยู่ร่วมกันกับสิ่งต่างๆอย่างมีความสุขและเอื้อเฟื้อต่อกันการออกแบบได้นำการ Upcycling E-Waste ที่เป็นปัญหาที่ตามมาของการเข้าสู่ยุคดิจิตอลเป็นวัสดุหลักของสถาปัตยกรรม ผู้ออกแบบได้มีการออกแบบรูปแบบการใช้งานที่หลากหลายสำหรับทั้งคนและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ อาทิเช่น เป็นจุดแวะพักและกินน้ำของนก ซึ่งแฝงเรื่องของการกรวดน้ำที่เป็นความเชื่อว่าจะสามารถส่งผลบุญกุศลไปให้ผู้อื่นได้ และเชื่อมโยงพื้นที่ต่างๆผ่านระบบรถไฟฟ้าที่ผ่านสถานที่ต่างๆของเมืองโดยสถาปัตยกรรมนี้สามารถเปลี่ยนรูปทรงตามกาลเวลาและตามบริบท ตามคำสอนที่ว่า “ ไม่มีอะไรจีรังยั่งยืน ” เพื่อเป็นการเชื่อมโยงคน ศาสนา และธรรมชาติ ทั้งทางตรงและทางอ้อม ผ่านการแก้ปัญหาของเมืองในมิติต่างๆ ในช่วงเวลาที่ต่างกันออกไป เป็นสายบุญที่ยึดโยงเส้นเวลาและสิ่งต่างๆเข้าด้วยกัน อนุโมทนา สาธุ
ผู้ออกแบบ : นายธนัช ขุนทองสายบุญ สถาปัตยกรรมที่แฝงปริศนาธรรมปัจจุบันเมืองที่หลายคนเติบโตหรือเข้ามาใช้ชีวิตมีแต่ความเร่งรีบจนเราหลงลืมหลายสิ่ง ลืมสนใจหลายๆอย่างที่อยู่รอบตัว จนเกิดวลีที่ว่า “ไม่มีเวลา” ทั้งที่เวลาก็คือเส้นที่เราใช้อยู่ทุกวัน แต่เราเองไม่ได้สนใจที่จะใช้เวลากับบางอย่างที่เคยใช้ อาทิเช่น ศาสนา ที่นับวันยิ่งดูออกห่างจากคนรุ่นใหม่มาก จนห่างหายจากศาสนาที่เป็นรากเง้าของสังคมคอยขัดเกลาสังคมไทยและคนไทยตั้งแต่อดีตโดยผลงานออกแบบได้นำแนวคิดที่ว่า “ การเชื่อมโยงคน ศาสนา ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของเมือง เข้าด้วยกันผ่าน สถาปัตยกรรม ” ซึ่งสถาปัตยกรรมจะแฝงคติทางพระพุทธศาสนาและหลักธรรมอย่าง พรหมวิหาร4 ซึ่งเป็นหลักธรรมพื้นฐานของการอยู่ร่วมกันกับสิ่งต่างๆอย่างมีความสุขและเอื้อเฟื้อต่อกันการออกแบบได้นำการ Upcycling E-Waste ที่เป็นปัญหาที่ตามมาของการเข้าสู่ยุคดิจิตอลเป็นวัสดุหลักของสถาปัตยกรรม ผู้ออกแบบได้มีการออกแบบรูปแบบการใช้งานที่หลากหลายสำหรับทั้งคนและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ อาทิเช่น เป็นจุดแวะพักและกินน้ำของนก ซึ่งแฝงเรื่องของการกรวดน้ำที่เป็นความเชื่อว่าจะสามารถส่งผลบุญกุศลไปให้ผู้อื่นได้ และเชื่อมโยงพื้นที่ต่างๆผ่านระบบรถไฟฟ้าที่ผ่านสถานที่ต่างๆของเมืองโดยสถาปัตยกรรมนี้สามารถเปลี่ยนรูปทรงตามกาลเวลาและตามบริบท ตามคำสอนที่ว่า “ ไม่มีอะไรจีรังยั่งยืน ” เพื่อเป็นการเชื่อมโยงคน ศาสนา และธรรมชาติ ทั้งทางตรงและทางอ้อม ผ่านการแก้ปัญหาของเมืองในมิติต่างๆ ในช่วงเวลาที่ต่างกันออกไป เป็นสายบุญที่ยึดโยงเส้นเวลาและสิ่งต่างๆเข้าด้วยกัน อนุโมทนา สาธุ
Comentarios