โครงการ ท่ารถผู้ออกแบบ : นายวราพล สุริยางานออกแบบนี้ได้ตีความ “Co-Exist with Co-Area” เป็น “การอยู่ร่วมกันบนพื้นที่ร่วม” ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ทุกคนสามารถใช้ได้ มีกิจกรรมที่หลากหลาย หรืออาจจะปรับเปลี่ยนได้ตามเวลาและโอกาส จึงนำเสนอ “ศาลารอรถประจำทาง” ในบริบทของเขตเมืองเก่าเชียงใหม่ทั้งในสี่เหลี่ยมคูเมืองและ ย่านเก่าโดยรอบที่มีทางเท้าที่แคบและขาดช่วงในบางพื้นที่ เพื่อให้ผู้คนใช้ระบบขนส่งมวลชนเดิมอย่างรถสาธารณะสี่ล้อแดงมากขึ้น สะดวกขึ้น และรองรับรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ที่กำลัง จะเกิดขึ้นในอนาคตออกแบบให้ “ศาลารอรถประจำทาง” ไปอยู่กับ “พื้นที่หน้าบ้าน” หรืออยู่หน้าสถานที่ต่างๆ โดย ที่ไม่รบกวนทางเท้า ให้ความเฉพาะตัว, เอกลักษณ์หรือผู้คนของแต่ละย่าน รวมไปถึงความคิดสร้างสรรค์ของเจ้าของพื้นที่เอง ได้ร่วมกันสร้างสรรค์ศาลาในแบบของตนเอง ทั้งที่จัดการด้วยตนเองหรือร่วมด้วยช่วยกันทั้งชุมชน ทำให้ศาลารอรถประจำทางในรูปแบบใหม่นี้มีการใช้งานและรูปแบบ ที่เฉพาะตัวมากขึ้นไปตามแต่ละพื้นที่และเมื่อผู้คนใช้งานมากขึ้น มีการใช้งานที่รองรับความต้องการของตนเองและที่เพิ่มเข้ามา ทำให้ชีวิตดีขึ้น ศาลารอรถประจำทางนี้ จึงกลายเป็น “พื้นที่ร่วม” และทำให้เกิด “การอยู่ร่วมกันบนพื้นที่ร่วม” ของผู้ใช้งาน เจ้าของพื้นที่ ผู้มีอำนาจอย่างรัฐและเอกชน ที่ต่างฝ่ายต่าง “ร่วมกัน” สร้างศาลานี้ให้ดีขึ้น ไม่มีใครเป็นเจ้าของเพียงคนเดียวเหมือนแบบเดิม มากไปกว่านั้น เมื่อเกิดความนิยม ทำให้ขยาย “พื้นที่ร่วม” และ “การอยู่ร่วมกันบนพื้นที่ร่วม” ในระดับเมืองในการแก้ไข ปรับปรุงพื้นที่อื่นๆต่อไป
ผู้ออกแบบ : นายวราพล สุริยางานออกแบบนี้ได้ตีความ “Co-Exist with Co-Area” เป็น “การอยู่ร่วมกันบนพื้นที่ร่วม” ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ทุกคนสามารถใช้ได้ มีกิจกรรมที่หลากหลาย หรืออาจจะปรับเปลี่ยนได้ตามเวลาและโอกาส จึงนำเสนอ “ศาลารอรถประจำทาง” ในบริบทของเขตเมืองเก่าเชียงใหม่ทั้งในสี่เหลี่ยมคูเมืองและ ย่านเก่าโดยรอบที่มีทางเท้าที่แคบและขาดช่วงในบางพื้นที่ เพื่อให้ผู้คนใช้ระบบขนส่งมวลชนเดิมอย่างรถสาธารณะสี่ล้อแดงมากขึ้น สะดวกขึ้น และรองรับรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ที่กำลัง จะเกิดขึ้นในอนาคตออกแบบให้ “ศาลารอรถประจำทาง” ไปอยู่กับ “พื้นที่หน้าบ้าน” หรืออยู่หน้าสถานที่ต่างๆ โดย ที่ไม่รบกวนทางเท้า ให้ความเฉพาะตัว, เอกลักษณ์หรือผู้คนของแต่ละย่าน รวมไปถึงความคิดสร้างสรรค์ของเจ้าของพื้นที่เอง ได้ร่วมกันสร้างสรรค์ศาลาในแบบของตนเอง ทั้งที่จัดการด้วยตนเองหรือร่วมด้วยช่วยกันทั้งชุมชน ทำให้ศาลารอรถประจำทางในรูปแบบใหม่นี้มีการใช้งานและรูปแบบ ที่เฉพาะตัวมากขึ้นไปตามแต่ละพื้นที่และเมื่อผู้คนใช้งานมากขึ้น มีการใช้งานที่รองรับความต้องการของตนเองและที่เพิ่มเข้ามา ทำให้ชีวิตดีขึ้น ศาลารอรถประจำทางนี้ จึงกลายเป็น “พื้นที่ร่วม” และทำให้เกิด “การอยู่ร่วมกันบนพื้นที่ร่วม” ของผู้ใช้งาน เจ้าของพื้นที่ ผู้มีอำนาจอย่างรัฐและเอกชน ที่ต่างฝ่ายต่าง “ร่วมกัน” สร้างศาลานี้ให้ดีขึ้น ไม่มีใครเป็นเจ้าของเพียงคนเดียวเหมือนแบบเดิม มากไปกว่านั้น เมื่อเกิดความนิยม ทำให้ขยาย “พื้นที่ร่วม” และ “การอยู่ร่วมกันบนพื้นที่ร่วม” ในระดับเมืองในการแก้ไข ปรับปรุงพื้นที่อื่นๆต่อไป
Comments